Hetalia: Axis Powers - Poland

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

นิทานเวตาล


นิทานเวตาล เรื่องที่ 10


ที่มาของเรื่อง
                นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า เวตาลปัญจวิงศติ ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ
                  ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน  ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์   อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ 10 เรื่อง เมื่อ พ.ศ. 2461

                   นิทานเวตาลเป็นนิทานที่มีลักษณะเป็นนิทานซับซ้อนนิทาน คือ มีนิทานเรื่องย่อยซ้อนอยู่ในนิทานเรื่องใหญ่

ลักษณะการแต่ง
           นิทานเวตาล แต่งเป็นร้อยแก้ว    โดยนำทำนองเขียนร้อยแก้วของฝรั่งมาปรับเข้ากับสำนวนไทยได้อย่างกลมกลืน และไม่ทำให้เสียอรรถรส แต่กลับทำให้ภาษาไทยมีชีวิตชีวา จึงได้รับยกย่องเป็นสำนวนร้อยแก้วที่ใหม่ที่สุดในยุคนั้น เรียกว่า สำนวน น.ม.ส.

จุดมุ่งหมาย
                   แต่งเพื่อสอนให้มนุษย์รู้จักคิดให้รอบคอบ ไตร่ตรองให้ดี การใช้ปัญญาอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไ-ปัญหาได้ตลอด ต้องมีสติกำกับปัญญา จึงจะผ่านปัญหาต่างๆไปได้

ประวัติผู้แต่ง
            พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ   ทรงชำนาญด้านภาษาและวรรณคดีเป็นพิเศษ  ได้นิพนธ์หนังสือไว้มากมายโดยใช้นามแฝง น.ม.ส.” ซึ่งทรงเลือกจากอักษรตัวหลังพยางค์ของพระนาม(พระองค์เจ้า) รัชนีแจ่มจรัส
            พระนามแฝง น.ม.ส.”  เป็นที่รู้จักกันดีในนามนักเขียนและกวีที่มีโวหารพิเศษ คือ คมคายและขบขัน  เมื่อทรงเขียนเรื่องชีวิตของนักเรียนเมืองอังกฤษ ลงในหนังสือ วชิรญาณครั้งแรกผู้อ่านก็ชอบใจทันที  เพราะมีความแปลกใหม่ทั้งแนวเขียนแนวคิด  ความชำนาญทางภาษาเยี่ยมยอด จึงได้ทรงรับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสูงทางคุณวุฒิหลายครั้ง  เช่น  องคมนตรี สภานายก ราชบัณฑิตยสถาน เป็นต้น
            พระองค์ได้ทรงตั้งโรงพิมพ์และมีกิจการพิมพ์ส่วนพระองค์ที่ถนนประมวญ และทรงออกหนังสือเครือประมวญ  ชื่อประมวญวัน และประมวญมารค
            งานนิพนธ์มีทั้ง ๒ ประเภท ดังนี้
๑.ประเภทร้อยแก้ว ได้แก่ จดหมายจางวางหร่ำ นิทานเวตาล สืบราชสมบัติ ตลาดเงินตรา พระนางฮองไทเฮา และที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ได้แก่                      บทความหน้า ๕ ในหนังสือประมวญวัน
๒.ประเภทร้อยกรอง ได้แก่ กนกนครคำกลอน พระนลคำฉันท์ สามกรุง

เนื้อเรื่องย่อ
     ในโบราณกาล มีเมืองที่ใหญ่เมืองหนึ่งชื่อ กรุงธรรมปุระ พระราชาทรงพระนามว่า ท้าวมหาพล มีพระมเหสีที่ทรงสิริโฉมงดงามแม้มีพระราชธิดาที่ทรงเจริญวัยแล้ว ต่อมาได้เกิดศึกสงครามทหารของท้าวเอาใจออกห่าง ทำให้ทรงพ่ายแพ้ พระองค์จึงทรงพาพระมเหสีและพระราชธิดาหลบหนีออกจากเมืองเพื่อไปเมืองเดิมของพระมเหสี ในระหว่างทางท้าวมหาพลได้ถูกโจรรุมทำร้ายเพื่อชิงทรัพย์และสิ่งของมีค่า จนพระองค์สิ้นพระชนม์ จนพระราชธิดาและพระมเหสีเสด็จหนีเข้าไปในป่าลึก
   ในเวลานั้นมีพระราชาทรงพระนามว่า ท้าวจันทรเสน กับพระราชบุตร ได้เสด็จมาประพาสป่าและพบรอยเท้าของสตรีซึ่งเมื่อพบสตรีทั้งสองจะให้รอยเท้าที่ใหญ่เป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และรอยเท้าที่เล็กเป็นพระชายาของพระราชบุตร แต่เมื่อพบนางทั้งก็ปรากฏว่า รอยเท้าที่ใหญ่คือพระราชธิดา และรอยเท้าที่เล็ก นั้นคือ พระราชมารดา ดังนั้นพระราชธิดาจึงเป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และพระมารดาได้เป็นพระชายาของพระราชบุตร

ข้อคิดที่ได้รับ

                หากมนุษย์รู้จักใช้ปัญญาคิดไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วยและรอบด้าน แม้ปัญหาจะยากเย็นซับซ้อน เพียงใดก็สามารถแก้ไขหรือทำความเข้าใจได้เสมอ  แต่การใช้ปัญญาเพียงอย่างเดียวมิอาจแก้ปัญหาทุกสิ่งได้เสมอไป  มนุษย์ต้องมีสติกำกับปัญญาของตนด้วยการใช้สติปัญญาควบคู่กันไป   คือหลักสำคัญในการนำมนุษย์ไปสู่ความสำเร็จ  อีกทั้งคำพูดของมนุษย์มีความสำคัญยิ่ง เพราะคำพูดเป็นสิ่งที่ต้องรักษาดังนั้นหาพูดออกมาโดยมิได้ใช้สติปัญญาไตร่ตรองให้รอบด้านเสียก่อน ก็จะนำหายนะหรือปัญหาซึ่งยากจะแก้ไขมาสู่ตนได้   ความกล้าหาญมุ่งมั่นและความเพียรเป็นคุณลักษณะที่น่าชื่นชม

คำศัพท์ที่น่าสนใจ
 ความรู้เพิ่มเติม

นิทาน หมายถึง เรื่องเล่าสืบต่อกันมา และกล่าวได้ว่าเป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดคือ ศิลปะ ที่เป็นผลงานอันเกิดจากการคิด และจินตนาการ แล้วเรียบเรียง นำมาบอกเล่า ว่ากันว่านิทานอาจมีกำเนิดพร้อม ๆ กับครอบครัวของมนุษยชาติ ซึ่งมูลเหตุที่มาแต่เริ่มแรก คงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงแล้วเล่าสู่กันฟัง มีการเพิ่มเติมเสริมแต่งให้พิสดารมากยิ่งขึ้น จนห่างไกลจากเรื่องจริง กลายเป็นนิทานไป และอาจเป็นการเขียนจากจินตนาการก็ได้

องค์ประกอบของนิทาน
1. แนวคิด:
แก่นสารหรือสาระที่จุดประกายให้เกิดเรื่องราว
เช่น แม่กระต่ายผู้รักลูกสุดหัวใจยอมสละชีวิตตัวเองเพื่อแลกกับลูก
  
หรือ ลูกสี่คนคิดปลูกฟักทองยักษ์ให้แม่
หรือ ลูกไก่ 7 ตัวที่ยอมตายตามแม่
 
หรือ โจรใจร้ายชอบทำร้ายผู้หญิงวันหนึ่งกลับทำร้ายแม่ตัวเองโดยไม่ตั้งใจ
 
หรือ
 ลูกหมูสามตัวไม่เชื่อแม่ทำให้เป็นเหยื่อของหมาป่า 
2. โครงเรื่องของนิทาน
โครงเรื่องและเนื้อหาต้องไม่ซับซ้อน สั้นๆ กะทัดรัด เป็นลักษณะเรื่องเล่าธรรมดา มีการลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง

3. ตัวละคร
ขึ้นอยู่กับจินตนาการของผู้เขียน เช่น คน สัตว์ เทพเจ้า แม่มด เจ้าชาย นางฟ้า เป็นต้น
**แต่ไม่ควรมีตัวละครมากเกินไป
 
4. ฉาก
สถานที่เกิดเหตุ..ในป่า กระท่อมร้าง ปราสาท บนสวรรค์ แล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์ของผู้เขียน
5. บทสนทนา
การพูดคุยของตัวละคร
  ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย กระชับ  สนุกสนาน **ไม่ใช้คำหยาบ
6. คติสอนใจ: 
เมื่อจบนิทาน ผู้อ่านควรได้แง่คิด คติสอนใจเพื่อเป็นการปลูกฝังคุณธรรมกล่อมเกลาจิตใจ
 
นิทานอีสป เป็นนิทานที่เล่าต่อกันมาโดยเชื่อว่า อีสป เป็นคนรวบรวมไว้นิทานอีสปมักมีคติข้อคิดสอนผู้ฟัง นิทานอีสปมักมีเนื้อหาเกี่ยวกับสัตว์ชนิดต่างๆเนื้อเรื่องเป็นที่ถูกใจของเด็กๆ ทำให้เด็กๆได้รับข้อคิดในตอนท้ายของนิทานเสมอคติต่างๆในนิทานอีสป ยังเป็นที่รู้จักแพร่หลายในปัจจุบันเช่น ช้าๆได้พร้าเล่มงาม อย่าประมาท พอใจในสิ่งที่ตัวเองมี เป็นต้น
ชาดก เป็นเรื่องที่มีมาก่อนพุทธกาล เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ หรือ เป็นชีวประวัติในชาติก่อนของพระพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีเพื่อตรัสรู้ นั่นเอง
          ชาดก เป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก แต่มีความหมายแตกต่างจากนิทานที่เล่ากันทั่วไป คือ ชาดกเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง แต่นิทานเป็นเรื่องที่แต่งขึ้น
          ชาดกที่ทรงเล่านั้นมีนับพันเรื่อง หมายถึง พระองค์ได้เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์นับพันชาติ โดยทรงเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นสัตว์บ้าง แต่ที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ ๑๐ ชาติสุดท้ายที่เรียกว่า ทศชาติชาดก และชาติสุดท้ายที่สุดที่ทรงเกิดเป็นพระเวสสันดร จึงเรียกเรื่องพระเวสสันดรนี้ว่า เวสสันดรชาดก
วิเคราะห์ วิจารณ์
ความดีเด่นด้านกลวิธีการแต่ง
1. การใช้สำนวนโวหาร
     นิทานเวตาล ฉบับพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์  มีการใช้สำนวนโวหารเปรียบเทียบที่ไพเราะและทำให้เห็นภาพแจ่มชัดขึ้น
2. การใช้กวีโวหาร
      พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงแปลนิทานเวตาลด้วยภาษาที่กระชับ อ่านง่าย มีบางตอนที่ทรงใช้สำนวนภาษาบาลี ซึ่งไม่คุ้นหูผู้อ่านในยุคนี้ เพราะไม่นิยมใช้แล้วในปัจจุบัน และยังมีสำนวนเปรียบเทียบที่ใช้ภาษาสละสลวย และแฝงด้วยข้อคิด ทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกคล้อยตามได้อย่างแนบเนียน

คุณค่าด้านปัญญาและความคิด
1. ความอดทนอดกลั้น
           ความอดทนเป็นคำสอนในทุกศาสนา ดังนั้นเมื่อไม่ตอบปัญหาในเรื่องที่ 10 เวตาลจึงกล่าวชมว่า ทรงตั้งพระราชหฤทัยดีนัก พระปัญญาราวกับเทวดาและมนุษย์อื่นที่มีปัญญา จะหามนุษย์เสมอมิได้
2. ความเพียรพยายาม
            เวตาลมักยั่วยุให้พระวิกรมาทิตย์แสดงความคิดเห็นออกมา ทำให้พระองค์ต้องกลับไปปีนต้นอโศกเพื่อจับเวตาลใส่ย่ามกลายครั้ง
3. การใช้สติปัญญา
            การแก้ปัญหาต่างๆ จำเป็นต้องใช้สติและปัญญาควบคู่กันไป จากนิทานเวตาลเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่าการใช้ปัญญาของพระวิกรมาทิตย์อย่างเดียวนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาและเอาชนะเวตาลได้ แต่พระองค์ต้องใช้สติประกอบกับปัญญาควบคู่กันไปจึงเอาชนะเวตาลได้
4. ความมีสติ
           ความเป็นผู้มีทิฐิมานะ ไม่ยอมในสิ่งที่ไม่พอใจ บางครั้งอาจส่งผลเสียต่อผู้นั้นเอง ดังนั้น การพยายามยับยั้งชั่งใจ  ไม่พูดมากปากไวจนเกินไป จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากเพราะเมื่อใด เราคิดก่อนพูด ไม่ใช่พูดแล้วคิด เมื่อนั้นเราก็มีสติ สติเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะเป็นพื้นฐานของสมาธิและปัญญา ถ้าไม่มีสติ สิ่งต่างๆที่เราทำไปหรือตัดสินใจไปโดยไร้สติอาจส่งผลร้ายเกินกว่าจะประเมินได้
5. การเอาชนะข้าศึกศัตรู
            ในการทำสงครามนั้นผู้ที่มีความชำนาญ มีเล่ห์เหลี่ยมในกลศึกมากกว่าย่อมได้ชัยชนะ
6. ข้อคิดเตือนใจ
              เครื่องประดับเป็นสิ่งที่ทำให้ได้รับอันตรายจากโจรผู้ร้าย แม้จะเป็นชายที่มีฝีมือเช่นท้าวมหาพลก็ตาม เมื่อตกอยู่ในหมู่โจรเพียงคนเดียว ย่อมเสียทีได้

คุณค่าด้านความรู้
          การอ่านนิทานเวตาลทำให้ได้รู้ถึงวัฒธรรมและค่านิยมของชาวอินเดียในยุคโบราณ เช่น ค่านิยมที่ชายจะมีภรรยาได้หลายคนโดยเฉพาะชายสูงศักดิ์ เพราะถือส่าเรือนที่อบอุ่นจะต้องมีแม่เรือน

ผังมโนทัศน์

บรรณานุกรม
นิทานเวตาล (เรื่องที่ 10) [ออนไลน์]  แหล่งที่มา :https://sites.google.com/site/phasathiym4/raywicha-phasa-thiy-chan-mathymsuksa-pi-thi4/bth-thi3-reuxng-nithan-wetal-reuxng-thi10

 ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง  [ออนไลน์]  แหล่งที่มา : http://sawasdeekub12.blogspot.com /2011/02/blog-post_6187.html
 นิทานชาดก  [ออนไลน์]  แหล่งที่มา : http://guru.sanook.com/5775/
 นิทานชาดก  [ออนไลน์]  แหล่งที่มา : http://guru.sanook.com/5775/
 นิทานอีสป  [ออนไลน์]  แหล่งที่มา  http://www.xn--o3cdbaak5etb0aca8cyas4uwe.com/
 หลักการเขียนนิทาน  [ออนไลน์]  แหล่งที่มา : http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:http://www.anbsatun.ac.th/sarahkid/nitan2/howto/index1.html&gws_rd=cr&ei=XiFSV7bVNYSavQTzqrP4Cw
นิทาน  [ออนไลน์]  แหล่งที่มา  http://xn--o3cdb3hi.rakjung.com/
ภาสกร  เกิดอ่อน. วรรณคดี ม.๔. พิมครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ :อักษรเจริญทัศน์, 2558.